พนักงานบริษัท (Office) ล้วนมีพฤติกรรมในการทำงานที่แตกต่างกันออกไป บางคนอาจจะมีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การนั่งหลังค่อม นั่งทำงานหน้าจอคอมนาน ๆ โดยไม่ได้เปลี่ยนอิริยาบถ หรือมีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น โต๊ะ เก้าอี้ สูงเกินไป จนส่งผลให้เกิดความเจ็บปวดทางร่างกาย ซึ่งสิ่งที่เราทำเป็นกิจวัตรประจำวันนั้นอาจจะส่งผลเสียต่อร่างกาย และอาจเกิดโรคที่เรียกว่า "ออฟฟิศซินโดรม"
เป็นกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial pain syndrome) มักพบได้บ่อยในคนทำงานออฟฟิศ เพราะเป็นการทำงานที่ต้องนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งที่ต้องใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำ ๆ เป็นระยะเวลานานต่อเนื่องกันหลายชั่วโมงต่อวัน หรืออยู่ในท่าการทำงานที่ไม่เหมาะสมต่อเนื่องกันนาน ๆ เช่น การนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นานเกินไป โดยไม่ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ การนั่ง หรือยืนหลังค่อม ไหล่ห่อ ก้มคอมากเกินไป เป็นต้น ซึ่งอาจลุกลามจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง และอาจส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาไม่ว่าจะเป็นโรคเกี่ยวกับระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบนัยน์ตา ระบบการย่อยอาหาร และการมองเห็นได้อีกด้ว
โรคออฟฟิศซินโดรมเกิดจากลักษณะการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งซ้ำ ๆ เป็นเวลานานหลายชั่วโมงต่อวัน นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ ได้อีก เช่น
- สภาพร่างกายและจิตใจ เช่น ความเครียดจากการทำงาน การพักผ่อนไม่เพียงพอ การได้รับสารอาหารไม่ครบ ทานอาหารไม่ตรงเวลา ทั้งหมดนี้อาจจะนำมาซึ่งโรคออฟฟิศซินโดรม
- สภาพแวดล้อม อุปกรณ์ในการทำงานไม่เหมาะสมกับโครงสร้างของร่างกายของผู้ทำงาน เช่น โต๊ะ หรือเก้าอี้ ระดับความสูง ต่ำ โต๊ะกับเก้าอี้ไม่เหมาะสมเป็นต้น
มีอาการปวดกล้ามเนื้อ
มีอาการทางระบบประสาท
มีอาการของระบบประสาทอัตโนมัติ
1.ออกกำลังกาย
2.ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน
3.พักการใช้งานกล้ามเนื้อ
4.เปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน
โรคออฟฟิศซินโดรมเป็นโรคที่เราสามารถแก้ไขได้ด้วยการปรับพฤติกรรมในที่ทำงาน และไม่ควรปล่อยปละละเลยหากเกิดสัญญาณเตือนของอาการ เพราะการดูแลสุขภาพของตนเองตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดออฟฟิศซินโดรมได้
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ แผนกกายภาพบำบัด รพ.สิโรรส ยะลา 073-223600-4 ต่อ 334
..